Day

September 22, 2021
ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม นับเป็นปลายฤดูกาลสำหรับการออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกแล้ว อย่างไรก็ตามข้อดีของการถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกในช่วงโค้งสุดท้ายที่ประเทศไทยก็คือสามารถจัดคอมโพสิชั่นได้ง่าย เนื่องจากว่าใจกลางทางช้างเผือกเคลื่อนตัวลงมาอยู่ใกล้กับเส้นขอบฟ้า ไม่ต้องแหงนหน้ากล้องสูงจนเกินไป เหมาะกับการใส่ human element เข้าไปในเฟรมภาพ รวมถึงยังสามารถถ่ายทางช้างเผือกโค้งๆ แบบ panorama ได้อย่างสวยงามอีกด้วย โดย panorama ในช่วงเดือนนี้เราจะเริ่มถ่ายจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในโพสต์นี้จะขอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพทางช้างเผือกสำหรับมือใหม่ ว่าต้องเตรียมอุปกรณ์และเตรียมการตั้งค่าอย่างไรบ้าง สามารถอ่านรายละเอียดได้ในคำบรรยายภาพของแต่ละรูปได้เลยครับ ติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_th https://www.facebook.com/pixelmateth https://www.instagram.com/pixelmate_th/ 1. เลือกสถานที่ เชคอากาศ พระจันทร์ ทิศทางของทางช้างเผือก สถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพทางช้างเผือกที่สุดต้องมีความมืดของท้องฟ้าอยู่ในช่วง Bortle Class 1-3 กล่าวคืออยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ปลอดมลภาวะทางแสงรบกวน อย่างไรก็ตามพื้นที่ Bortle Class 4 ก็พอที่จะถ่ายภาพทางช้างเผือกได้เช่นกัน แต่รายละเอียดของทางช้างเผือกก็จะลดทอนลงไป สามารถตรวจสอบความมืดของท้องฟ้าโลเคชั่นที่เราจะไปถ่ายภาพได้ที่เวบพยากรณ์อากาศ ยกตัวอย่างเช่น www.clearoutside.com และควรเลือกออกถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงที่ฟ้าปลอดโปร่งไร้เมฆ รวมถึงหลีกเลี่ยงคืนที่มีแสงจันทร์รบกวน เนื่องจากว่าความสว่างของดวงจันทร์จะทำให้ท้องฟ้ามีความสว่าง ลดทอนรายละเอียดของทางช้างเผือก เวบที่สามารถดูพยากรณ์อากาศและการขึ้นลงของดวงจันทร์ที่ใช้งานได้ง่าย แนะนำเป็น www.clearoutside.com เช่นเดียวกันครับ ทิศทางของใจกลางทางช้างเผือกนั้นโดยปกติแล้วจะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเดือนและเวลาของแต่ละวัน...
Read More