Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Tag
post
15
Aug
August 15, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
4 วิธีลบ chromatic aberration (CA) แบบง่ายๆ
ปัญหาที่เจอบ่อยๆเวลาถ่ายภาพย้อนแสง หรือถ่ายภาพตรงที่มีความต่างของแสงมากๆก็คือขอบม่วง หรือความคลาดของสี หรือในภาษาอังกฤษว่า chromatic aberration (CA) บางทีก็เรียกว่า color fringing ขอบม่วงนี้จริงๆแล้วมีหลายสี อาจจะมีทั้งแดง เขียว ขึ้นกับสภาพแสง แต่เราจะเรียกแบบง่ายๆว่าขอบม่วงแล้วกันครับ ซึ่งปัญหาขอบม่วงนี้จะมีมากน้อยขึ้นกับคุณภาพและการออกแบบของตัวเลนส์ เลนส์สมัยใหม่ที่ราคาสูง ก็จะมีขอบม่วงน้อยลง แต่ในบางสถานการณ์ก็ยากที่จะเลี่ยงได้จริงๆ ต้องมาปรับแก้กันในคอม และในโพสนี้เรานำวิธีลบขอบม่วงแบบง่ายๆ 4 วิธี ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop กันติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_thhttps://www.facebook.com/pixelmatethhttps://www.instagram.com/pixelmate_th/
Read More
06
Mar
March 6, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Highlights
Process ทางช้างเผือกให้ Pop ด้วยเทคนิคการลดดาว
วันนี้ขอนำเสนอเทคนิคปรับแต่งภาพที่ทำให้ใจกลางทางช้างเผือกโดดเด่นขึ้นกว่าเดิมด้วยการลดขนาดและปริมาณเม็ดดาว หากใครเคยมีประสบการณ์ถ่ายภาพทางช้างเผือกมาก่อน ก็จะพอนึกภาพออกว่าเวลาที่เราถ่ายภาพทางช้างเผือกนั้น ท้องฟ้าก็จะเต็มไปด้วยเม็ดดาวกระจัดกระจายเต็มไปหมด เม็ดดาวเหล่านั้นรบกวนสายตาของผู้ชมภาพ หากเราสามารถลดขนาดหรือปริมาณของดาวที่ไม่สำคัญในเฟรมภาพออกไปได้ ใจกลางทางช้างเผือกของเราก็จะเด่นขึ้นมาทันทีเลย การลดดาวถูกนำมาใช้ในการปรับแต่งภาพ deep sky object นานแล้ว เพียงแต่เพิ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้กับภาถ่ายแบบ wide field astrophotography ได้ไม่นานมานี้เอง เทคนิควิธีการทำก็มีการคิดค้นขึ้นมาอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การใช้ Photoshop ในการปรับแต่ง มีการสร้าง action สำเร็จรูป ไปจนถึงใช้ software เสริม แต่ละเทคนิคก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การปรับแต่งก็ยังคงไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพไฟล์ของแต่ละใบที่บันทึกมา ผมขอนำเสนอเทคนิคที่ใช้เองเป็นประจำด้วยโปรแกรม Photoshop และเชื่อว่าให้ผลลัพธ์ที่เนียนสวย ไฟล์ไม่ช้ำ อาจจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนสักหน่อย แต่เชื่อว่าเพื่อนๆ สามารถทำตามขั้นตอนได้อย่างแน่นอนครับ ขั้นตอนพอสังเขปมีดังนี้ครับ ใช้ Dust and Scratch ที่ซ่อนอยู่ใน Filter → Noise → Dust and Scratch 1 – 5 px threshold...
Read More
26
Feb
February 26, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Highlights
,
Photography Tips
Ultimate Guide to Shoot and Edit Panoramaเทคนิคการถ่ายภาพ Panorama
ถ่ายอย่างไรให้เนียน พร้อมแนะนำการต่อภาพให้สวย ภาพพาโนรามา ถ้าจะนิยามคร่าวๆแบบง่ายๆ ก็คือเป็นการถ่ายภาพในลักษณะสัดส่วนกว้างเป็นพิเศษ เพื่อให้เห็นมุมมองที่ให้ความรู้สึกกว้างมากๆ หรือเก็บ subject ในมุมมองที่เราต้องการในพื้นที่จำกัดได้ ภาพพาโนรามาหลายๆภาพมีด้านยาว ยาวกว่าด้านกว้างพอสมควร โดยมากจะประมาณ 2 เท่าขึ้นไป (อัตราส่วน 2:1) แต่ก็ไม่มีหลักตายตัวอะไร แนวทางการถ่ายภาพและทำภาพพาโนรามา Reframing หรือจัดเฟรมภาพใหม่ พูดง่ายๆก็คือการถ่ายภาพเฟรมเดียวด้วยเลนส์มุมกว้างหน่อย แล้ว crop ภาพออกให้ดูเหมือนเป็นภาพพาโนรามา เหมือนถ่ายมาหลายใบกว้างๆ แต่จริงๆแล้วเป็นภาพเฟรมเดียวStitching การถ่ายภาพหลายๆใบแล้วนำมาต่อกันด้วยโปรแกรม โดยคำว่า stitch ก็คือนำมาเย็บให้ติดกัน หรือการนำภาพมาต่อกันนั่นเอง รายละเอียดทั้งการถ่ายและการต่อภาพค่อนข้างเยอะ จะขอลงรายละเอียดในภาพต่อๆไปExtreme Wide Angle การถ่ายภาพเลนส์มุมกว้างหลายๆใบ แล้วนำมาต่อกันอีกที เพื่อให้ได้มุมกว้างสุดๆ จริงๆพาโนลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็นแบบนึงของ Stitching ก็ว่าได้ แต่พอต่อภาพแล้ว ช่างภาพมักจะปรับให้เหลือสัดส่วนเหมือนภาพปกติ เช่น ที่อัตราส่วน 3:2 ทั่วไป เพื่อให้ดูเหมือนถ่ายด้วยเฟรมเดียว แต่จริงๆแล้วเป็นภาพที่ถ่ายพาโนมาอีกทีนึงSmartphone สมัยนี้มือถือมีโหมดถ่ายพาโนรามาแทบทุกเครื่อง และการถ่ายก็ง่ายมากๆด้วย เพียงแค่หมุนมือถือจากด้านนึงไปอีกด้านนึง และโปรแกรมก็จะจัดการต่อให้เสร็จ แต่คุณภาพของการถ่าย และการต่อภาพก็จะสู้การถ่ายจากกล้องใหญ่ไม่ได้นอกเหนือจากนี้ก็เป็นกลุ่มกล้องที่ถ่ายภาพ...
Read More