Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Photo Trips
Testimonials
Team
Gallery
Blog
Darkroom Tutorials
Travel
Photo Tips
Category
Darkroom Tutorials
04
Sep
September 4, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
Blue Hour Blending
วันนี้เราขอแชร์เทคนิคและแนวคิดการถ่ายภาพทางช้างเผือกแบบ blending ร่วมกับ stacking ครับ ภาพนี้เกิดจากการรวมภาพ 2 ชุดเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นถ่ายภาพชุดแรกช่วง blue hour จากนั้นรอจนฟ้ามืดสนิทจึงบันทึกภาพชุดที่ 2 สำหรับภาพชุดที่ 2 นั้นถ่ายภาพด้วย ISO ที่สูงมาก ต้องใช้เทคนิค median stacking เพื่อลดนอยส์ก่อน แล้วค่อยเบลนด์เข้ากับไฟล์ภาพ ข้อควรระวังในการใช้เทคนิค blending ภาพช่วง blue hour เข้ากับภาพกลางคืนก็คือความต่างของแสงที่เกิดขึ้น ต้องรปรับจูนให้มีความสมดุลกันทั้งตัวฉากหน้าและท้องฟ้า แนวคิดและ settings ในการถ่ายแต่ละชุดเป็นอย่างไร ติดตามอ่านได้ในคำบรรยายภาพได้เลยครับ Location: เมือง Brookings รัฐ Oregon ขั้นตอนที่ 1 ถ่ายภาพช่วง Blue hour เป็นช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเก็บไว้เป็นภาพหลักสำหรับการเบลนด์ฉากหน้า การเก็บภาพวิวช่วง blue hour สามารถใช้ ISO ที่ไม่สูงมากเนื่องจากว่ายังพอมีแสงสะท้อนที่ขอบฟ้า ทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัด...
Read More
30
Aug
August 30, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
Fix The Edge
การแต่งภาพแบบเฉพาะส่วนด้วยโปรแกรม Photoshop บ่อยครั้งที่การสร้าง selection จะมีรอยต่อระหว่างส่วนมืดและส่วนสว่างเกิดขึ้นเล็กๆ เมื่อทำการปรับความสว่างและสีซ้ำไปมาเรื่อยๆ รอยต่อที่มาจากการสร้าง selection ที่ไม่สมบูรณ์นั้นจะทำให้เกิดขอบที่การเหลื่อมความสว่าง เมื่อพิมพ์ภาพขนาดใหญ่หรือขยายภาพเข้าไปลึกๆ ก็จะมองเห็นขอบที่เป็นข้อบกพร่องอย่างชัดเจน วันนี้เราจะมาดูวิธีการแก้ขอบขาวที่เกิดขึ้น ด้วยเครื่องมือ Clone stamp ใน Photoshop กันครับ สามารถทำตามได้ง่ายๆ ขั้นตอนแรกให้เปิดภาพด้วยโปรแกรม Photoshop จากนั้นให้ copy เลเยอร์ขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเลเยอร์ ด้วยคีย์ลัด Command + J (หมายเหตุ สำหรับคอมพิวเตอร์ระบบวินโดวส์ ปุ่ม Command = ปุ่ม Control) เรียกใช้งาน Clone stamp tool ตามที่วงไว้ด้านซ้ายมือ หรือกดคีย์ลัด S ที่คีย์บอร์ด ปรับ Mode ของ Clone stamp tool ให้เป็น Darken ตามที่เห็นในวงสีส้มด้านบนของโปรแกรม Photoshop กำหนด Target...
Read More
15
Aug
August 15, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
4 วิธีลบ chromatic aberration (CA) แบบง่ายๆ
ปัญหาที่เจอบ่อยๆเวลาถ่ายภาพย้อนแสง หรือถ่ายภาพตรงที่มีความต่างของแสงมากๆก็คือขอบม่วง หรือความคลาดของสี หรือในภาษาอังกฤษว่า chromatic aberration (CA) บางทีก็เรียกว่า color fringing ขอบม่วงนี้จริงๆแล้วมีหลายสี อาจจะมีทั้งแดง เขียว ขึ้นกับสภาพแสง แต่เราจะเรียกแบบง่ายๆว่าขอบม่วงแล้วกันครับ ซึ่งปัญหาขอบม่วงนี้จะมีมากน้อยขึ้นกับคุณภาพและการออกแบบของตัวเลนส์ เลนส์สมัยใหม่ที่ราคาสูง ก็จะมีขอบม่วงน้อยลง แต่ในบางสถานการณ์ก็ยากที่จะเลี่ยงได้จริงๆ ต้องมาปรับแก้กันในคอม และในโพสนี้เรานำวิธีลบขอบม่วงแบบง่ายๆ 4 วิธี ด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop กันติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_thhttps://www.facebook.com/pixelmatethhttps://www.instagram.com/pixelmate_th/
Read More
31
Jul
July 31, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
Behind the Edits – Lightning
วันนี้มีเบื้องหลัง “การถ่าย และทำไฟล์” มาบอกเล่าครับ ภาพที่เห็นนี้ถ่ายจากทะเลทรายที่ราบสูงในรัฐ Utah ในบริเวณนี้มีแลนด์สเคปแปลกตาราวกับว่าเราอยู่ดาวดวงอื่นเลย โดยตอนนั้นมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบริเวณแนวเขาที่มีความชุ่มชื้นมากกว่า ห่างออกไปไม่น้อยกว่า 50 กิโลเมตร โดยปกติแล้วในภูมิประเทศทะเลทรายทางตะวันตกเฉียงใต้ของอเมริกา ช่วงเช้าของฤดูร้อนท้องฟ้าจะมีเมฆน้อยหรือไร้เมฆ แต่เมฆฝนจะเริ่มก่อตัวในช่วงบ่าย และเกิดฝนตกในตอนเย็นไปจนถึงกลางคืนที่บริเวณยอดเขาสูงและชายเขา จะแตกต่างจากบ้านเราที่มีความชื้นสูง เวลาเกิดเมฆฝนก็จะกินบริเวณกว้าง ในเขตทะเลทรายหากสามารถหาโลเคชั่นที่มองไปยังแนวเขาสูงได้ในระยะไกล ก็มีโอกาสที่จะบันทึกภาพเมฆฝนและฟ้าแลบได้ในคราวเดียวกัน เนื่องจากการเกิดฟ้าแลบนั้นจะสังเกตเห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อท้องฟ้าเริ่มมืดลง ดังนั้นการถ่ายภาพต้องลากยาวคาบเกี่ยวช่วงเวลาหลังจากอาทิตย์ตกดินไปแล้วสักระยะหนึ่ง ครั้งนี้เราถ่ายภาพต่อเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 400 ภาพ แต่มีฟ้าแล่บติดเข้ามาในเฟรมภาพเพียงไม่ถึง 10 ใบ Setting ที่ใช้คือ – ISO 64-200 ต้องปรับเพิ่มขึ้นเมื่อฟ้ามืดลง– ค่ารูรับแสง f 16 – 5.6 ปรับรูรับแสงกว้างขึ้นเมื่อแสงน้อยลง– Speed shutter รักษาไว้ที่ 4-6 วินาที หลังจากคัดเลือกภาพใบที่มีเส้นฟ้าผ่าแล้ว ก็ต้องนำภาพมารวมกันในโปรแกรม Photoshop แต่ราต้องปรับจูนความสว่างในแต่ละภาพให้ใกล้เคียงกันเสียก่อน เนื่องจากภาพที่ได้มานั้นบางครั้งถ่ายห่างกันหลายนาที และมีความแตกต่างของค่าแสง เวลาที่เบลนด์ภาพเข้าด้วยกันจะได้ไม่เกิดรอยต่อ การนำเส้นฟ้าผ่ามาซ้อนใน Photoshop ก็แค่เปลี่ยน Blending...
Read More
11
Jul
July 11, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Photography Tips
Focus Stacking เก็บภาพให้ชัดเพอร์เฟค คมชัดจากฉากหน้าถึงหลัง
เทคนิคการถ่ายภาพ landscape ที่จะยกระดับให้ภาพเราสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นคือการใช้ focus stacking หรือบางทีจะเรียกว่า focus blending โดยจะใช้เสมอเวลาเจอสถานการณ์ที่ระยะชัดลึกของภาพไม่สามารถครอบคลุมให้ชัดหมดทั้งภาพได้ เวลาที่เราถ่ายฉากหน้าสวยๆแล้วอยากทำให้ฉากหน้าโดดเด่น เช่น ดอกไม้ หรือลายหินสวยๆ เราจะต้องเอากล้องไปจ่อเพื่อให้ฉากหน้าดูมีพลัง บางทีก็ตั้งกล้องต่ำมากๆเพื่อเข้าใกล้ฉากหน้า ดังนั้นเหตุการณ์ที่ถ่ายยังไงก็ไม่สามารถเก็บให้ชัดได้ในเฟรมเดียวจะเจอได้ค่อนข้างบ่อย แม้จะดัน f แคบสุดก็ตาม ดังนั้นทางแก้ก็คือ ต้องถ่ายที่ระยะโฟกัสหลายๆภาพ แล้วนำมารวมกัน ซึ่งก็คือ focus stacking ซึ่งจะออกแรงเหนื่อยหน่อยทั้งตอนถ่าย และตอนแต่งภาพ เพราะเราจะไม่ได้จบในเฟรมเดียว ในบทความนี้มาเรียนรู้กันว่า ถ่าย focus stacking ทำอย่างไร และเวลารวมภาพ ทำอย่างไร โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นหลัก ติดตามบทความดีๆได้ใน Pixelmate และฝากติดตาม IG ที่ @pixelmate_th ตอนนี้เราลงเบื้องหลังการเดินทางในอเมริกา เป็นทริปที่พาสามาชิกจากไทยมาตะลุย USA West Coast เกือบเดือนเลย พร้อมทั้งรับวัคซีน ทำไมต้องทำ Focus stackingช่วยเพิ่มความชัดของภาพให้ครอบคลุมทั้งภาพในบางสถานการณ์...
Read More
13
Jun
June 13, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Highlights
สร้าง Mood ของแสงให้กับภาพด้วย Light Bleeding ง่ายๆใน 3 ขั้นตอน
เราอาจจะเคยได้เห็นภาพที่มีลักษณะแสงฟุ้งๆมาจากด้านข้างของภาพ เป็นสีโทนอุ่นบ้าง ส้มบ้าง เหมือนเป็น flare บางๆ ซึ่งจะทำให้ภาพดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ช่างภาพต่างประเทศหลายคนก็ชอบใช้เทคนิคนี้มาทำให้ภาพโดดเด่นมากขึ้น เรียกว่า Light Bleeding จริงๆแล้วสถานการณ์แบบนี้สามารถเกิดขึ้นได้จริงถ้าแสงทำมุมอย่างพอเหมาะ และแสงฟุ้งจะเด่นมากขึ้นถ้ามีสภาพอากาศเป็นใจ เช่น มีละอองน้ำ มีหมอกบางๆฟุ้งอยู่ แต่ก็คงไม่ใช้ทุกสถานการณ์ที่เราจะได้แสงฟุ้งตั้งแต่ตอนถ่ายเลย หากภาพของเราไม่มีแสงฟุ้ง แต่เราอยากได้ฟุ้งบ้างนิดหน่อย หรือถ้ามีพระอาทิตย์อยู่ในเฟรมอยู่แล้ว และอยากให้ตรงนั้นมันฟุ้งมากขึ้น เหมือนเป็นแสง flare จ้าๆก็สามารถทำได้อย่างง่ายๆเลย Tutorial นี้จะมาสอนทำแสงฟุ้งแบบง่ายๆโดยใช้ Brush ใน Photoshop กันครับ เทคนิคนี้สามารถทำใน Lightroom ได้ โดยการใช้ Radial Filter แล้วปรับค่า Exposure, Highlight และลด Dehaze ได้ตามชอบ แต่การควบคุมสีจะทำได้ยากกว่า ที่สำคัญมากๆคือพยายามคุมมือของตัวเอง อย่าใส่ฟุ้งจนเยอะเกินไปนะครับ เทคนิคนี้บางคนอาจจะไม่ถูกใจ ซึ่งก็แล้วแต่ความชอบส่วนตัวครับ แต่ละคนชอบสไตล์ของภาพไม่เหมือนกันครับ ถ้าใครคุ้นเคยกับการทำ dodge burn อยู่แล้ว จริงๆมันคือหลักการเดียวกันเลย เพียงแค่เพิ่มความหนักเบาและลูกเล่นของสีให้มากขึ้น ขั้นตอนแรก...
Read More
06
Mar
March 6, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Highlights
Process ทางช้างเผือกให้ Pop ด้วยเทคนิคการลดดาว
วันนี้ขอนำเสนอเทคนิคปรับแต่งภาพที่ทำให้ใจกลางทางช้างเผือกโดดเด่นขึ้นกว่าเดิมด้วยการลดขนาดและปริมาณเม็ดดาว หากใครเคยมีประสบการณ์ถ่ายภาพทางช้างเผือกมาก่อน ก็จะพอนึกภาพออกว่าเวลาที่เราถ่ายภาพทางช้างเผือกนั้น ท้องฟ้าก็จะเต็มไปด้วยเม็ดดาวกระจัดกระจายเต็มไปหมด เม็ดดาวเหล่านั้นรบกวนสายตาของผู้ชมภาพ หากเราสามารถลดขนาดหรือปริมาณของดาวที่ไม่สำคัญในเฟรมภาพออกไปได้ ใจกลางทางช้างเผือกของเราก็จะเด่นขึ้นมาทันทีเลย การลดดาวถูกนำมาใช้ในการปรับแต่งภาพ deep sky object นานแล้ว เพียงแต่เพิ่งมีการนำมาประยุกต์ใช้กับภาถ่ายแบบ wide field astrophotography ได้ไม่นานมานี้เอง เทคนิควิธีการทำก็มีการคิดค้นขึ้นมาอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การใช้ Photoshop ในการปรับแต่ง มีการสร้าง action สำเร็จรูป ไปจนถึงใช้ software เสริม แต่ละเทคนิคก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน การปรับแต่งก็ยังคงไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับสภาพไฟล์ของแต่ละใบที่บันทึกมา ผมขอนำเสนอเทคนิคที่ใช้เองเป็นประจำด้วยโปรแกรม Photoshop และเชื่อว่าให้ผลลัพธ์ที่เนียนสวย ไฟล์ไม่ช้ำ อาจจะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนสักหน่อย แต่เชื่อว่าเพื่อนๆ สามารถทำตามขั้นตอนได้อย่างแน่นอนครับ ขั้นตอนพอสังเขปมีดังนี้ครับ ใช้ Dust and Scratch ที่ซ่อนอยู่ใน Filter → Noise → Dust and Scratch 1 – 5 px threshold...
Read More
26
Feb
February 26, 2021
Piriya
Darkroom Tutorials
,
Highlights
,
Photography Tips
Ultimate Guide to Shoot and Edit Panoramaเทคนิคการถ่ายภาพ Panorama
ถ่ายอย่างไรให้เนียน พร้อมแนะนำการต่อภาพให้สวย ภาพพาโนรามา ถ้าจะนิยามคร่าวๆแบบง่ายๆ ก็คือเป็นการถ่ายภาพในลักษณะสัดส่วนกว้างเป็นพิเศษ เพื่อให้เห็นมุมมองที่ให้ความรู้สึกกว้างมากๆ หรือเก็บ subject ในมุมมองที่เราต้องการในพื้นที่จำกัดได้ ภาพพาโนรามาหลายๆภาพมีด้านยาว ยาวกว่าด้านกว้างพอสมควร โดยมากจะประมาณ 2 เท่าขึ้นไป (อัตราส่วน 2:1) แต่ก็ไม่มีหลักตายตัวอะไร แนวทางการถ่ายภาพและทำภาพพาโนรามา Reframing หรือจัดเฟรมภาพใหม่ พูดง่ายๆก็คือการถ่ายภาพเฟรมเดียวด้วยเลนส์มุมกว้างหน่อย แล้ว crop ภาพออกให้ดูเหมือนเป็นภาพพาโนรามา เหมือนถ่ายมาหลายใบกว้างๆ แต่จริงๆแล้วเป็นภาพเฟรมเดียวStitching การถ่ายภาพหลายๆใบแล้วนำมาต่อกันด้วยโปรแกรม โดยคำว่า stitch ก็คือนำมาเย็บให้ติดกัน หรือการนำภาพมาต่อกันนั่นเอง รายละเอียดทั้งการถ่ายและการต่อภาพค่อนข้างเยอะ จะขอลงรายละเอียดในภาพต่อๆไปExtreme Wide Angle การถ่ายภาพเลนส์มุมกว้างหลายๆใบ แล้วนำมาต่อกันอีกที เพื่อให้ได้มุมกว้างสุดๆ จริงๆพาโนลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็นแบบนึงของ Stitching ก็ว่าได้ แต่พอต่อภาพแล้ว ช่างภาพมักจะปรับให้เหลือสัดส่วนเหมือนภาพปกติ เช่น ที่อัตราส่วน 3:2 ทั่วไป เพื่อให้ดูเหมือนถ่ายด้วยเฟรมเดียว แต่จริงๆแล้วเป็นภาพที่ถ่ายพาโนมาอีกทีนึงSmartphone สมัยนี้มือถือมีโหมดถ่ายพาโนรามาแทบทุกเครื่อง และการถ่ายก็ง่ายมากๆด้วย เพียงแค่หมุนมือถือจากด้านนึงไปอีกด้านนึง และโปรแกรมก็จะจัดการต่อให้เสร็จ แต่คุณภาพของการถ่าย และการต่อภาพก็จะสู้การถ่ายจากกล้องใหญ่ไม่ได้นอกเหนือจากนี้ก็เป็นกลุ่มกล้องที่ถ่ายภาพ...
Read More