Northern Lights แสงเหนือ ซิมโฟนียามค่ำคืน

ปรากฏการณ์แสงพริ้วไหวยามค่ำคืน เหมือนเป็นม่านพริ้วอยู่บนท้องฟ้า เห็นได้เฉพาะเขตใกล้กับขั้วโลกเท่านั้น ส่วนใหญ่เราก็จะไปดูทางซีกโลกเหนือ ประเทศแถบยุโรป เช่น นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ รัสเซีย จริงๆแล้วปรากฏการณ์แสงเหนือนี้เกิดอยู่ตลอดเวลาแทบทุกวัน บางวันเกิดน้อย บางวันเกิดแรง ขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกโลก ถ้าลงลึกส่วนของวิทยาศาสตร์หน่อย ที่มาคืออนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์น อนุภาคเหล่านี้จะมาเหนี่ยวนำให้สนามแม่เหล็กเกิดการเปลี่ยนแปลง และส่งพลังงานสูงไปที่โมเลกุลออกซิเจน และพลังงานคลายตัวออกมาเป็นแสงเหนือสีเขียวให้เราเห็น ที่เกิดตรงใกล้ขั้วโลกเพราะมีเหตุผลจากสนามแม่เหล็กนั่นเอง แสงเหนือสีแดงอาจจะเกิดขึ้นบ้างจากการคลายตัวของโมเลกุลไนโตรเจน แต่จะพบได้น้อยกว่าสีเขียวจากออกซิเจน

แต่ถ้าเราไม่ได้อยู่ตรงแถบขั้วโลก ในคืนที่มืดมากๆ เราอาจจะเห็นแสงสีเขียวๆบนท้องฟ้าได้ (ไม่ใช่เรือไดหมึกที่อ่าวไทยนะครับ 55) แสงเหล่านี้คือ Airglow ที่เกิดจากโมเลกุลออกซิเจนเหมือนกัน แต่เป็นออกซิเจนที่รับพลังงานส่งต่อจากแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน แล้วคลายพลังงานออกมาในรูปแสงให้เราเห็นตอนกลางคืน แต่เนื่องจากพลังงานของแสงอาทิตย์นั้นต่ำมากเมื่อเทียบกับอนุภาคพลังงานสูงที่ทำให้เกิดแสงเหนือ ตัว Airglow ก็เลยจางกว่ามาก และความอลังการ ความพริ้วไหว แสงเหนือจะสวยกว่า

สถานที่หลักๆที่ชมแสงเหนือได้คือ Alaska, Canada, Norway, Finland, Sweden, Iceland, Greenland และรัสเซียทางตอนเหนือ ส่วนแสงใต้อาจจะพอเห็นได้ที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ แต่โอกาสเห็นเต็มท้องฟ้าไม่มากเท่าแสงเหนือ เนื่องจากนิวซีแลนด์ยังไม่อยู่ใกล้ขั้วใต้มากพอ

พอได้เห็นแสงเหนือสวยๆแล้วก็รู้สึกขอบคุณธรรมชาติที่บรรจงสร้างสิ่งสวยงามมากๆขึ้นมา พักเรื่องวิทยาศาสตร์แล้ว มาชมภาพกันดีกว่า