Category

Photography Tips

ฤดูการถ่ายแสงเหนือช่วงต้นปีกำลังจะเริ่มต้นขึ้นแล้ว หลายท่านน่าจะมีแผนการเดินทางในใจแล้ว ในโพสนี้แอดมิน Pixelmate มาย่อยสรุปการตั้งค่ากล้องที่เหมาะสมสำหรับถ่ายแสงเหนือกัน แสงเหนือ ถ่ายกี่โมง ทิศไหน แสงเหนือส่วนใหญ่จะมาช่วงหลังพระอาทิตย์ตก เรื่อยไปจนถึงประมาณตีสองของเวลาท้องถิ่น อาจมีบางคืนที่แสงเหนือแรงจริง ๆ อาจถ่ายได้ทั้งคืน เรื่อยไปจนถึงเช้าก็มี ดังนั้นถ้าฟ้าเริ่มมืดสนิทแล้ว ให้เตรียมตัวหา Location เหมาะ ๆ ตั้งกล้องรอถ่ายได้เลย ทิศทางหลักที่เราจะเห็นแสงเหนือได้ก็จะเป็นทางเหนือ (เว้นแต่ไปถ่ายแสงใต้) และในกรณีที่อยู่ละติจูดสูงมากพอ เช่น โลโฟเตน แสงเหนือก็จะอยู่ค่อนมาทางกลางฟ้า และถ้าแสงเหนือแรงมาก ๆ ก็จะเห็นแสงเต็มทั่วทั้งฟ้าเลยทีเดียว แต่ถ้าอยู่ละติจูดต่ำ แสงเหนืออาจะเห็นได้ทางปลายขอบฟ้าทางทิศเหนือ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราจะเห็นแสงเหนือได้ก็ต่อเมื่อฟ้าเปิดโล่งเท่านั้น อุปสรรคสำคัญที่ทำให้เราไม่เห็นแสงเหนือก็คือเมฆนั่นเอง หากเมฆปกคลุม แม้แสงเหนือระเบิดเต็มฟ้า ก็ได้แต่นอนรออยู่ในที่พักอย่างน่าเสียดาย อุปกรณ์ถ่ายภาพ การถ่ายภาพแสงเหนือ แนะนำให้ใช้กล้องใหญ่ เพราะควบคุมค่ากล้องได้มากกว่า หากไม่มี จะใช้กล้องคอมแพคก็ได้ แต่ข้อจำกัดจะเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ และนส์ไม่ไวแสง อุปกรณ์ที่ต้องมี กล้อง จะเป็น DSLR หรือ Mirrorless ก็ได้ เลนส์มุมกว้าง ที่มีค่า f...
Read More
หัวข้อที่อยากนำมาคุยวันนี้ เป็นประเด็นที่สำคัญมากในการถ่ายภาพ นั่นคือ White Balance (WB) เพราะ WB นั้นมีผลอย่างมากกับโทนสีในภาพของเรา หลายคนอาจกังวล หรือมีคำถามในใจเวลาเราออกถ่ายภาพ landscape ว่าควรตั้ง WB ค่าไหนดีถึงจะเหมาะสม ถ่าย RAW แล้วจะตั้งค่า WB อะไรดี โพสนี้มีคำตอบครับ ติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_thhttps://www.facebook.com/pixelmatethhttps://www.instagram.com/pixelmate_th/https://pixelmate.space/ White Balance (WB) คืออะไร WB หรือสมดุลแสงสีขาว คือกระบวนการที่ปรับแก้สี (color cast) ที่อยู่ในภาพ ที่อาจคลาดเคลื่อนไปเพราะแสงในธรรมชาติ ให้กลับมาเป็นสีที่ตรง (neutral) โดยเป็นการปรับสีทั้งภาพ เพื่อให้เราสามารถปรับให้สีของภาพให้แม่นยำมากขึ้น เช่น ถ้าอยู่ในสภาพแสงที่ติดส้มมากๆ ในสภาพแสงไฟจากหลอดไส้ทังสเตน กล้องจะสามารถใส่ WB ที่ติดฟ้า เพื่อชดเชยให้สีของภาพมาใกล้เคียงสมดุลสีขาวให้ได้มากที่สุด ซึ่ง WB นี้ก็คือรูปหลอดไฟทังสเตนนั่นเอง ให้สิ่งที่เป็นสีขาวในภาพ มีสีขาว เช่น...
Read More
รวม 20 สุดยอดช่างภาพ Landscape ระดับโลกในยุคดิจิตอล ใครสายถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ต้องไม่พลาดที่จะกดติดตาม บอกเลยว่างานสวยโหดขั้นเทพทุกคน ช่างภาพเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจชั้นยอด ดูแล้วได้มุมมองใหม่ๆ สนุกไปกับการแกะรอยองค์ประกอบการถ่ายภาพ และการวางแผนการถ่ายภาพอีกด้วย ลำดับนี้เรียงตามนามสกุลจาก A ไป Z นะครับ ติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_th
Read More
ช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม นับเป็นปลายฤดูกาลสำหรับการออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกแล้ว อย่างไรก็ตามข้อดีของการถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกในช่วงโค้งสุดท้ายที่ประเทศไทยก็คือสามารถจัดคอมโพสิชั่นได้ง่าย เนื่องจากว่าใจกลางทางช้างเผือกเคลื่อนตัวลงมาอยู่ใกล้กับเส้นขอบฟ้า ไม่ต้องแหงนหน้ากล้องสูงจนเกินไป เหมาะกับการใส่ human element เข้าไปในเฟรมภาพ รวมถึงยังสามารถถ่ายทางช้างเผือกโค้งๆ แบบ panorama ได้อย่างสวยงามอีกด้วย โดย panorama ในช่วงเดือนนี้เราจะเริ่มถ่ายจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ไปถึงทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ในโพสต์นี้จะขอแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพทางช้างเผือกสำหรับมือใหม่ ว่าต้องเตรียมอุปกรณ์และเตรียมการตั้งค่าอย่างไรบ้าง สามารถอ่านรายละเอียดได้ในคำบรรยายภาพของแต่ละรูปได้เลยครับ ติดตาม content และรูปสวยๆได้ทุกสัปดาห์ทางเพจ และ IG: pixelmate_th https://www.facebook.com/pixelmateth https://www.instagram.com/pixelmate_th/ 1. เลือกสถานที่ เชคอากาศ พระจันทร์ ทิศทางของทางช้างเผือก สถานที่ที่เหมาะกับการถ่ายภาพทางช้างเผือกที่สุดต้องมีความมืดของท้องฟ้าอยู่ในช่วง Bortle Class 1-3 กล่าวคืออยู่ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ปลอดมลภาวะทางแสงรบกวน อย่างไรก็ตามพื้นที่ Bortle Class 4 ก็พอที่จะถ่ายภาพทางช้างเผือกได้เช่นกัน แต่รายละเอียดของทางช้างเผือกก็จะลดทอนลงไป สามารถตรวจสอบความมืดของท้องฟ้าโลเคชั่นที่เราจะไปถ่ายภาพได้ที่เวบพยากรณ์อากาศ ยกตัวอย่างเช่น www.clearoutside.com และควรเลือกออกถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงที่ฟ้าปลอดโปร่งไร้เมฆ รวมถึงหลีกเลี่ยงคืนที่มีแสงจันทร์รบกวน เนื่องจากว่าความสว่างของดวงจันทร์จะทำให้ท้องฟ้ามีความสว่าง ลดทอนรายละเอียดของทางช้างเผือก เวบที่สามารถดูพยากรณ์อากาศและการขึ้นลงของดวงจันทร์ที่ใช้งานได้ง่าย แนะนำเป็น www.clearoutside.com เช่นเดียวกันครับ ทิศทางของใจกลางทางช้างเผือกนั้นโดยปกติแล้วจะเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเดือนและเวลาของแต่ละวัน...
Read More
ทริกในการใช้เส้นเพื่อสร้างแนวนำสายตา เป็นทริกนึงที่ใช้ง่ายและทำให้ภาพของเราดูน่าสนใจขึ้นได้ สามารถลองนำไปปรับใช้กับการถ่ายภาพได้ทุกแนว ไม่ว่าจะเป็น landscape portrait หรือแม้แต่ street การมองหาเส้นที่มีในธรรมชาติ จะต้องช่างสังเกต และในบางครั้งเส้นอาจจะไม่ได้มาจากเส้นที่ลากไว้ชัด แต่อาจจะเกิดจากลายของการเคลื่อนไหวต่างๆได้ด้วย ในโพสนี้เราอยากนำเสนอเส้นนำสายตา 9 รูปแบบ ที่เราเอาไปปรับใช้กับภาพเราได้จริง 1) ถนน เป็น subject ที่ใช้ง่ายมาก เพราะเส้นชัดเจนมาก และมีหลายสีด้วย เพราะเส้นกลางถนนเป็นสีเหลือง ยิ่งถ้าเราไปยืนกลางถนน เส้นจะชัดมากๆ เป็นเส้นนำสายตาที่ดีมาก 2) ลากเส้นไฟรถ งานนี้ต้องลากสปีดกันหน่อย แต่ถ้าเลือกมุมดีๆและมีโค้ง จะได้เส้นนำสายตาที่สวยเลย 3) ถนนจากมุมสูง บางทีมุมแนวราบระดับสายตา เส้นอาจจะไม่ชัด ลองเปลี่ยนมาใช้ drone แล้วถ่ายภาพจากมุมสูงบ้าง ในแผนที่ Google Maps เห็นเส้นยังไง โดรนก็ได้อย่างนั้นเลย บางทีไม่ต้องใช้โดรน แค่ปีนขึ้นเนินเขานิดหน่อยก็ได้มุมที่ต่างไป และได้เส้นนำสายตาสวยๆได้ 4) ทางเดิน มองหาทางเดินที่เป็นระเบียบ มีเส้นชัดๆ เช่น บันไดของวัดในญี่ปุ่นอย่างใบนี้ แถมมีโคมไฟช่วยเรียงเป็นเส้นนำสายตาเพิ่มอีก หรือทางเดินในป่า...
Read More
เทคนิคการถ่ายภาพ landscape ที่จะยกระดับให้ภาพเราสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นคือการใช้ focus stacking หรือบางทีจะเรียกว่า focus blending โดยจะใช้เสมอเวลาเจอสถานการณ์ที่ระยะชัดลึกของภาพไม่สามารถครอบคลุมให้ชัดหมดทั้งภาพได้ เวลาที่เราถ่ายฉากหน้าสวยๆแล้วอยากทำให้ฉากหน้าโดดเด่น เช่น ดอกไม้ หรือลายหินสวยๆ เราจะต้องเอากล้องไปจ่อเพื่อให้ฉากหน้าดูมีพลัง บางทีก็ตั้งกล้องต่ำมากๆเพื่อเข้าใกล้ฉากหน้า ดังนั้นเหตุการณ์ที่ถ่ายยังไงก็ไม่สามารถเก็บให้ชัดได้ในเฟรมเดียวจะเจอได้ค่อนข้างบ่อย แม้จะดัน f แคบสุดก็ตาม ดังนั้นทางแก้ก็คือ ต้องถ่ายที่ระยะโฟกัสหลายๆภาพ แล้วนำมารวมกัน ซึ่งก็คือ focus stacking ซึ่งจะออกแรงเหนื่อยหน่อยทั้งตอนถ่าย และตอนแต่งภาพ เพราะเราจะไม่ได้จบในเฟรมเดียว ในบทความนี้มาเรียนรู้กันว่า ถ่าย focus stacking ทำอย่างไร และเวลารวมภาพ ทำอย่างไร โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นหลัก ติดตามบทความดีๆได้ใน Pixelmate และฝากติดตาม IG ที่ @pixelmate_th ตอนนี้เราลงเบื้องหลังการเดินทางในอเมริกา เป็นทริปที่พาสามาชิกจากไทยมาตะลุย USA West Coast เกือบเดือนเลย พร้อมทั้งรับวัคซีน ทำไมต้องทำ Focus stackingช่วยเพิ่มความชัดของภาพให้ครอบคลุมทั้งภาพในบางสถานการณ์...
Read More
มองลึกลงไปในภาพถ่าย มาแกะรอยว่าแต่ละภาพที่เราเห็น มีองค์ประกอบอะไรบ้าง จึงเป็นภาพที่น่าสนใจ เราตั้งใจว่าจะลองเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งบางคนมักจะเรียกว่ากฎขององค์ประกอบภาพ เช่น จุดตัดเก้าช่อง กฎสามส่วน เป็นต้น แต่พอได้มองลึกจริงๆแล้ว เรื่ององค์ประกอบภาพนี้ถ่ายทอดออกมาไม่ง่ายเลย และอาจจะเรียกว่า “กฎ” ไม่ได้สักทีเดียว เพราะภาพแต่ละภาพมันไม่ได้มีสูตรหรือหลักตายตัว หลักขององค์ประกอบภาพมันก็ไม่ได้ตายตัว (หรือมีความ subjective นั่นเอง) และเราก็เชื่อว่า กฎ นั้นมีไว้แหกเสมอ เราก็เลยเห็นภาพที่น่าสนใจมากๆแต่อาจจะไม่เข้าข่ายองค์ประกอบภาพที่เราเคยเรียนรู้มาก่อนเลยก็ได้ เพราะช่างภาพแต่ละคนอาจตีความองค์ประกอบภาพที่ตนเองถนัดในรูปแบบของตนเอง เราเลยเปลี่ยนวิธีการเล่าใหม่ มาเป็นการเปิดเบื้องหลังว่า แต่ละภาพ ทำไมถึงมีความน่าสนใจ มีลูกเล่นขององค์ประกอบต่างๆ เสริมให้กับภาพได้อย่างไร องค์ประกอบภาพ ก็ตามชื่อของมัน คือการที่ภาพมีองค์ประกอบ เล็กบ้างใหญ่บ้าง ที่เสริมให้องค์รวมของภาพนั้นเป็นภาพที่สวยงามและน่าสนใจ อาจจะมี element ต่างๆ ทั้งเส้น วัตถุ มาแบบจัดเต็ม 16 ภาพ ติดตามกันเลย ฝาก like ฝาก share และฝากกดติดตามเราทาง Facebook Pixelmate และ IG @pixelmate_th...
Read More
ฤดูถ่ายภาพทางช้างเผือกมาถึงแล้ว พวกเราก็เลยทำตารางเวลาในแต่ละเดือนที่สามารถออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกได้ ตั้งแต่เดือนมีนาคมไปจนถึงเดือนพฤศจิกายนเลย ในส่วนของเดือนธันวาคมนั้นเราไม่สามารถสังเกตเห็นใจกลางทางช้างเผือกได้เนื่องจากว่าเวลากลางคืนทางช้างเผือกอยู่ใต้เส้นขอบฟ้า หากถูกใจในคอนเทนท์ ขอกำลังใจด้วยการคอมเมนท์ กดไลค์ กดติดตามเพจ และแชร์คอนเทนท์ของเพจเราครับ เดือนมีนาคม วันที่เหมาะในการออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกคือ วันที่ 10 – 22 มีนาคม *** หมายเหตุ วันที่ 1-2 หมายถึงช่วงค่ำของวันที่ 1 ต่อไปจนถึงช่วงเช้ามืดของวันที่ 2 ทิศ SE หมายถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศ S หมายถึงทิศใต้ ทิศ SW หมายถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดือนเมษายนวันที่เหมาะในการออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกคือ วันที่ 6 – 20 เมษายน*** หมายเหตุวันที่ 1-2 หมายถึงช่วงค่ำของวันที่ 1 ต่อไปจนถึงช่วงเช้ามืดของวันที่ 2ทิศ SE หมายถึงทิศตะวันออกเฉียงใต้ทิศ S หมายถึงทิศใต้ทิศ SW หมายถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ เดือนพฤษภาคมวันที่เหมาะในการออกถ่ายภาพใจกลางทางช้างเผือกคือ วันที่ 3 –...
Read More
ถ่ายอย่างไรให้เนียน พร้อมแนะนำการต่อภาพให้สวย ภาพพาโนรามา ถ้าจะนิยามคร่าวๆแบบง่ายๆ ก็คือเป็นการถ่ายภาพในลักษณะสัดส่วนกว้างเป็นพิเศษ เพื่อให้เห็นมุมมองที่ให้ความรู้สึกกว้างมากๆ หรือเก็บ subject ในมุมมองที่เราต้องการในพื้นที่จำกัดได้ ภาพพาโนรามาหลายๆภาพมีด้านยาว ยาวกว่าด้านกว้างพอสมควร โดยมากจะประมาณ 2 เท่าขึ้นไป (อัตราส่วน 2:1) แต่ก็ไม่มีหลักตายตัวอะไร แนวทางการถ่ายภาพและทำภาพพาโนรามา Reframing หรือจัดเฟรมภาพใหม่ พูดง่ายๆก็คือการถ่ายภาพเฟรมเดียวด้วยเลนส์มุมกว้างหน่อย แล้ว crop ภาพออกให้ดูเหมือนเป็นภาพพาโนรามา เหมือนถ่ายมาหลายใบกว้างๆ แต่จริงๆแล้วเป็นภาพเฟรมเดียวStitching การถ่ายภาพหลายๆใบแล้วนำมาต่อกันด้วยโปรแกรม โดยคำว่า stitch ก็คือนำมาเย็บให้ติดกัน หรือการนำภาพมาต่อกันนั่นเอง รายละเอียดทั้งการถ่ายและการต่อภาพค่อนข้างเยอะ จะขอลงรายละเอียดในภาพต่อๆไปExtreme Wide Angle การถ่ายภาพเลนส์มุมกว้างหลายๆใบ แล้วนำมาต่อกันอีกที เพื่อให้ได้มุมกว้างสุดๆ จริงๆพาโนลักษณะนี้จะเรียกว่าเป็นแบบนึงของ Stitching ก็ว่าได้ แต่พอต่อภาพแล้ว ช่างภาพมักจะปรับให้เหลือสัดส่วนเหมือนภาพปกติ เช่น ที่อัตราส่วน 3:2 ทั่วไป เพื่อให้ดูเหมือนถ่ายด้วยเฟรมเดียว แต่จริงๆแล้วเป็นภาพที่ถ่ายพาโนมาอีกทีนึงSmartphone สมัยนี้มือถือมีโหมดถ่ายพาโนรามาแทบทุกเครื่อง และการถ่ายก็ง่ายมากๆด้วย เพียงแค่หมุนมือถือจากด้านนึงไปอีกด้านนึง และโปรแกรมก็จะจัดการต่อให้เสร็จ แต่คุณภาพของการถ่าย และการต่อภาพก็จะสู้การถ่ายจากกล้องใหญ่ไม่ได้นอกเหนือจากนี้ก็เป็นกลุ่มกล้องที่ถ่ายภาพ...
Read More
ภาพแลนด์กับการเลือกแสง ถ่ายภาพย้อนแสงหรือตามแสงดี? เวลาออกไปถ่ายภาพวิว มักจะมีคำถามโลกแตกในใจเสมอว่าเราต้องถ่ายมุมนี้คู่กับแสงแบบไหน จะเลือกแบบตามแสง หรือย้อนแสงดี เลือกถ่ายแสงเช้าหรือแสงเย็นดี แสงแต่ละแบบมีความน่าสนใจ และจุดเด่นแตกต่างกัน ในบทความนี้เรามีคำตอบให้ เลือกทิศทางแสงอย่างไรให้เข้ากับภาพ หลักๆแล้วการถ่ายภาพวิว landscape นั้นมีมากกว่าการถ่ายภาพย้อนแสงและตามแสง ถ้าจัดกลุ่มก็จะมีการเลือกแสงคร่าวๆ อยู่ 5 แบบคือ ถ่ายตามแสง (front lighting)ถ่ายย้อนแสง (back lighting)ถ่ายแสงด้านข้าง (side lighting)ถ่ายภาพแสงตอนกลางวัน (midday หรือ top lighting)ถ่ายในวันไม่มีแสง (overcast) เลือกยังไง มาติดตามกันเลย อยากรู้ว่า แฟนเพจของเรา ชอบถ่ายแสงเช้าหรือแสงเย็นมากกว่ากัน คอมเมนท์มากบอกกันได้นะครับอย่าลืมกดติดตาม และแชร์ content เพื่อเป็นกำลังใจให้เราด้วยนะครับ  ถ่ายตามแสง (front lighting)การถ่ายตามแสงเรียกได้ว่าเป็นการถ่ายที่ง่ายที่สุด ได้ภาพดีตามมาตรฐาน ถ้าเลือกทิศทางตามแสงในช่วงแสงสวยๆอย่างเช้าหรือเย็น นี้ย่อมได้ภาพที่สวยแน่นอน เช่น ถ่ายภาพภูเขาที่ได้แสงทองแรกฉาบบนยอดเขา จุ̲̲ด̲เ̲ด่̲̲น̲● ในจังหวะแสงฉาบแรก หรือแสงสุดท้าย Subject ของเราจะรับแสงสวยๆที่สุดของวันไปแบบเต็ม ทำให้เพิ่มความสวยขึ้นไปอีก ฉากหน้าสว่าง และยังตัดกับท้องฟ้าอีกด้วย●...
Read More
1 2