Choosing a Foreground เลือกฉากหน้ายังไงให้ปัง

การถ่ายภาพให้น่าสนใจ นอกจากการเลือกวัตถุที่จะถ่าย หรือเลือกฉากหลังให้ดีแล้ว ฉากหน้าก็มีความสำคัญไม่แพ้กันเลย ในโพสนี้เราจะมาเปิดวิธีหาฉากหน้าสวยๆจัดเต็มมาให้มากถึง 11 แบบ ทริกในการเลือกฉากหน้าหลากหลายแนว เลือกฉากหน้าอย่างไรให้โดดเด่น ภาพสวยงาม หรือส่งเสริม main subject ที่ฉากหลัง

ลองนำไปปรับใช้ดู โดยเฉพาะสาย landscape แล้วจะพบว่า เราสามารถสร้างความน่าสนใจ เพิ่มความสวยงามให้กับภาพเรา โดยใช้การมองหาสิ่งรอบตัวได้ไม่ยาก แล้วการถ่ายภาพจะสนุกขึ้นอีกหลายเท่าเลย

ทริกในการเลือกฉากหน้าหลากหลายแนว ในโพสนี้เราจะมาแนะนำแนวทางในการเลือกฉากหน้าอย่างไรให้โดดเด่น ภาพสวยงาม หรือส่งเสริม main subject ที่ฉากหลัง

จากนี้ไปเวลาถ่ายภาพจะได้มีหลายมุกมาออกแบบฉากหน้าให้น่าสนใจ และการถ่ายภาพจะสนุกว่าที่เคย

1. Getting low

การเอากล้องไปจ่อใกล้ๆฉากหน้า เพื่อให้เกิดฉากหน้าที่พุ่งและมีพลัง วัตถุเล็กๆแต่มีรูปทรงสวยงาม สามารถทำให้ดูโดดเด่นขึ้นได้ ทำให้คนดูสนใจในฉากหน้ามากขึ้น ฉากหน้าอาจมีความโดดเด่นกว่าฉากหลังได้ ในกรณีนี้คนดูอาจจะมองฉากหน้าก่อน ซึ่งการถ่ายแบบนี้ต้องระวังเรื่องระยะโฟกัส อาจต้องใช้เทคนิค focus stacking เพื่อให้มีความคมชัดทั้งภา

อย่างภาพนี้เราเอากล้องไปจ่อใกล้ๆกระบองเพชร และจัดองค์ประกอบให้เห็นฉากหลังคู่กัน
ภาพนี้ตัวดอกไม้นั้นเล็กมากๆ ขนาดแค่ 2-3 ซม. เท่านั้นเอง เพื่อให้ดอกไม้ดูเด่นจึงต้องเอากล้องไปจ่อใกล้มากๆ ประมาณ 20 เซนติเมตร

2. Leading lines

การใช้ฉากหน้าที่เป็นเส้นนำสายตา เพื่อส่งเรื่องราวและสายตาคนดูไปที่ฉากหลัง ซึ่งอาจจะมี main subject อยู่ อย่างไรก็ตาม ควรดูให้ออกว่าเส้นนั้นเป็นแค่เส้นธรรมดา หรือว่าเส้นนำสายตา

ภาพนี้ใช้เส้นไฟรถเป็นรูปตัว S เพื่อสร้างเส้นดึงสายตาไปภูเขาที่ฉากหลัง
ภาพนี้เส้นนำสายตาค่อนข้างชัดเจน ซึ่งก็คือทางเดินนั้นเอง และมีลูกเล่นเพิ่มคือมีความซิกแซก

3. การใช้สีสันโดดเด่น

การใช้ฉากหน้าที่มีสีสันสดใส สีสันที่เป็นสีตัดกับฉากหลัง หรือมีหลากหลายสีสัน เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับฉากหน้า ดึงดูดสายตาผู้ชม

ภาพนี้มีดอกไม้สองสี คู่กับสีเขียวของใบไม้ ดึงดูดเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพ
ภาพนี้แม้ว่าฉากหน้าจะมีเพียงใบไม้สีเขียวและแดง แต่ก็มีความโดดเด่นด้วยสีที่ตัดกัน และสีแดงนั้นก็ตัดกับฉากหลังด้วยเช่นกัน จึงมีความโดดเด่นเป็นพิเศษ

4. Frame

การเลือกหรือจัดเรียงวัตถุให้รายล้อมรอบๆภาพ เพื่อตีกรอบให้สายตาคนดูโฟกัสในตำแหน่งฉากหน้าที่น่าสนใจ หรือตีกรอบให้มีความสนใจที่ฉากหลังได้ชัดเจนมากขึ้น

ภาพนี้ใช้กิ่งไม้และใบไม้สีเหลืองเพื่อเป็นกรอบให้กับภาพ
สำหรับภาพนี้ ตอนถ่าย วางแผนให้หินสีเข้ม เป็นกรอบของฉากหน้า เพื่อให้โฟกัสที่น้ำตกและภูเขาได้ดีขึ้น

5. Balance

การวางสัดส่วนความโดดเด่นของฉากหน้าให้เหมาะสม โดยการกำหนดให้วัตถุที่อยู่ตรงฉากหน้ามีความเด่นประมาณ ⅓ ของภาพ หรือประมาณ 30% เพื่อไม่ให้ฉากหน้าโดดเด่นจนเกินไป จนดึงความสนใจของ subject หลักที่ฉากหลัง

ใบไม้ที่ฉากหน้าของภาพนี้ช่วยเสริมเรื่องราวให้กับน้ำตก โดยไม่โดดเด่นจนเกินไป
ภาพนี้ใช้บ้านแดงเป็นฉากหน้า โดยมีความโดดเด่นไม่มาก ประมาณ​ 20-30%

6. Different types of Lighting

การวางให้แสงที่ฉากหน้ามีความแตกต่างจากฉากหลัง สร้างความหลากหลายของแสง และฉากหน้ากับฉากหลังไม่แข่งโดดเด่นกันเอง

อย่างภาพนี้จะเห็นว่ามีแสงสองรูปแบบ คือ rim light หรือแสงด้านข้างของกระบองเพชร ทำให้รูปทรงเด่นชัดขึ้น ในขณะที่ด้านหลังเป็นการถ่ายย้อนแสง
ฉากหน้าในภาพนี้จมอยู่ในเงา แต่มีคอนทราสต์สูง จึงมีลักษณะแสงที่แตกต่างกับฉากหลังซึ่งเป็นการถ่ายย้อนแสง

7. Simple Foreground

การใช้ฉากหน้าที่เรียบง่าย ไม่โดดเด่น แต่สวยงาม เสริมให้พระเอกที่ฉากหลังดูโดดเด่นขึ้น โดยไม่แย่งความเด่นของฉากหลัง

8. Sense of scale

การใช้วัตถุ หรือคน มาสร้างจุดเปรียบเทียบขนาดให้กับภาพ ให้เห็นความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ

ส่วนใหญ่เราชอบใช้คนเทียบกับภูเขา เพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของฉากที่อยู่ตรงหน้า อย่างภาพนี้ก็เทียบสเกลได้ทั้งภูเขา และทางช้างเผือก
คนตัวเล็กๆ กับเกาะกลางน้ำ และภูเขาที่อยู่ตรงฉากหลัง สร้างความแตกต่างของขนาดได้เป็นอย่างดี

9. Reflection

เพิ่มลูกเล่นของเงาสะท้อนเล็กๆในฉากหน้า การเลือกฉากหน้าที่นอกจากจะมีวัตถุน่าสนใจแล้ว หากมีเงาสะท้อนมาเสริมด้วย ก็จะเป็นการเพิ่มลูกเล่น โดยเฉพาะเงาสะท้อนของ main subject ที่อยู่ในฉากหลังมาสะท้อนอยู่ในฉากหน้า จะทำให้ภาพดูน่าสนใจขึ้น

ภาพนี้เป็นการสะท้อนของภูเขาที่มีแสงฉาบตอนพระอาทิตย์ตก และมีเงาสะท้อนอยู่บนแอ่งน้ำขังริมแม่น้ำอีกที
เงาสะท้อนก็สามารถถ่ายตอนกลางคืนได้ อย่างภาพนี้เป็นเงาสะท้อนของแสงเหนือบนชายหาดที่เปียก ถ่ายตอนน้ำลงพอดี

10. เส้นสายลายน้ำ

การใช้ shutter speed ที่นานขึ้นสามารถทำให้การเคลื่อนตัวของฟองอากาศ หรือเกลียวคลื่นกลายเป็นเส้นตามลักษณะการเคลื่อนตัวของสายน้ำ หากจับจังหวะได้ดีเราสามารถได้ฉากหน้าที่มีผลเชิงบวกให้กับภาพถ่ายของเราได้ และบ่อยครั้งก็ทำให้เกิดเส้นนำสายตาอีกด้วย

เส้นสายของน้ำสามารถพบได้บ่อยๆกับภาพทะเล โดยเฉพาะเวลาตอนคลื่นถอยกลับออกไป สามารถเกิดเส้นได้สวยงามเช่นภาพนี้
การอยู่ในจุดที่ถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างภาพนี้ เราต้องกะจุดที่ยืนที่อยู่ตรงทางน้ำไหลพอดี จึงจะทำให้เส้นสายของสายน้ำมีทิศทางที่เหมาะสม และเป็นเส้นนำสายตาไปส่งเสริมฉากหลังได้

11. Texture

มองหาลวดลายหรือลักษณะเฉพาะ เช่นลายหิน ลายของเปลือกไม้ หรือลวดลายสิ่งของที่บอกถึงสถานที่นั้นๆ

ภาพนี้ใช้ลวดลายของหิน ที่คล้ายกับเปลือกไม้ เข้ากับต้นไม้ที่มีรูปทรงสวยๆอีกที
แม้แต่ texture ของฝาท่อ ก็สามารถเอาเป็นฉากหน้าที่น่าสนใจได้ ลองนำทริกเหล่านี้ไปใช้ดู อาจสร้างฉากหน้าจากวัตถุรอบตัวมาเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพของเราได้อย่างไม่ยากเลย

ลองนำไปปรับใช้ดู จากนี้ไปเวลาถ่ายภาพจะได้มีหลายมุกมาออกแบบฉากหน้าให้น่าสนใจ และการถ่ายภาพจะสนุกว่าที่เคยครับ